โลโก้โรงพิมพ์

ยินดีต้อนรับสู่ โรงพิมพ์ซันพริ้นอินดัสตรี้

โรงพิมพ์ซันพริ้น รับพิมพ์ออฟเซ็ท ออฟเซ็ทยูวี ดิจิตอลออฟเซ็ท

โรงพิมพ์เรายินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ทุกชนิด โทร.081-7707544,ake@sunprint.co.th

โรงพิมพ์และสิ่งพิมพ์
โรงพิมพ์ออฟเซ็ท ออฟเซ็ทยูวี ดิจิตอลออฟเซ็ท โรงพิมพ์ซันพริ้นอินดัสตรี้
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทเครื่องพิมพ์
"เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ท"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทสติกเกอร์กระดาษ
"พิมพ์ออฟเซ็ทสติกเกอร์งานฉลาก"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทยูวี
"พิมพ์ออฟเซ็ทยูวีลงบนพลาสติก"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทนามบัตร
"พิมพ์ออฟเซ็ทงานนามบัตร"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทฉลากสินค้า
"พิมพ์ออฟเซ็ทสติกเกอร์กระดาษ"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทHang Tag
"พิมพ์ออฟเซ็ทงานHang tag"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทโปสเตอร์
"พิมพ์ออฟเซ็ทโปสเตอร์"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทฉลากสินค้า
"พิมพ์ออฟเซ็ทฉลากสินค้ากระดาษ"
โรงพิมพ์การ์ดออฟเซ็ท
"พิมพ์ออฟเซ็ทการ์ดพลัง"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทยูวีฉลากสินค้า
"พิมพ์ออฟเซ็ทยูวีลงสติกเกอร์พีพี"
โรงพิมพ์กล่องออฟเซ็ท
"พิมพ์ออฟเซ็ทกล่องใส่อาหาร"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทแผ่นพับ
"พิมพ์ออฟเซ็ทแผ่นพับ"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทใบปลิว
"พิมพ์ออฟเซ็ทใบปลิวA5"
โรงพิมพ์ออฟเซ็ทแผ่นพับA4
"ออฟเซ็ทแผ่นพับA4(2พับ3ตอน)"
โรงพิมพ์กล่องออฟเซ็ท
"พิมพ์กล่องระบบออฟเซ็ท"
โรงพิมพ์ถุงกระดาษออฟเซ็ท
"พิมพ์ออฟเซ็ทถุงกระดาษ"
 
สิ่งพิมพ์ที่เหมาะสมกับระบบพิมพ์ออฟเซ็ท
     ระบบออฟเซ็ทเป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบันเพราะให้งานพิมพ์ที่สวยงามมีความคล่องตัวในการจัด
 อาร์ตเวิร์คและไม่ว่าจะออกแบอย่างไรการพิมพ์ก็ไม่ยุ่งยากมากจนเกินไปประกอบกับความก้าวหน้าในการทำฟิล์มและการแยกสี
 ในปัจจุบันทำให้ยิ่งพิมพ์จำนวนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งถูกลง สิ่งพิมพ์ที่จะพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ทควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

 1.มีจำนวนพิมพ์ตั้งแต่ 1,000 ใบพิมพ์ขึ้นไป
 2.มีภาพประกอบหรืองานประเภท กราฟ มาก ความละเอียดสูง
 3.ต้องการความรวดเร็วในการจัดพิมพ์ในจำนวนเยอะ
 4.ต้องการความประณีต สวยงาม สอดสีไล่โทนสีสวยงาม
 5.เป็นการพิมพ์หลายสี หรือภาพสีที่ต้องการความสวยงามมากๆ
 6.มีงานอาร์ตเวอร์คที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก
 7.มีงบประมาณในการจัดพิมพ์เพียงพอ

 โรงพิมพ์ระบบออฟเซ็ทสามารถให้งานพิมพ์ที่คุณภาพดีได้เพราะ
 1.การถ่ายทอดภาพกระทำโดยการถ่ายทอดลงบนผ้ายางแบลงเกตก่อนแลวจึงถ่ายทอดลงบนกระดาษทำให้การถ่ายทอดหมึก
 เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
 2.สามารถใช้เม็ดสกรีนที่มีความละเอียดมากๆ ถึง 175-200 เส้น/นิ้วได้ทำให้ภาพที่ออกมามีความละเอียดสวยงาม
 ในการพิมพ์ออฟเซ็ทยูวีจะใช้เม็ดสกรีนเบอร์ 150dpi. ส่วนออฟเซ็ทธรรมดาจะใช้เม็ดสกรีนเบอร์ 175dpi.
 3.การพิมพ์ภาพสี่สี(ภาพสอดสี)ทำได้สะดวก เพราะสามารถปรับตำแหน่งของแม่พิมพ์และกระดาษให้ลงในตำแหน่งที่ตรงกัน
 ของแต่ละสีได้ง่าย สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษได้เกือบทุกชนิด ตั่งแต่ 60-500แกรม

 หลักการการพิมพ์ออฟเซ็ท
     การพิมพ์วิธีแผ่นแม่พิมพ์เป็นโลหะพื้นแบนแต่นำมายึดติดกับลุกโมแม่พิมพ์ (Plate cylinder)จะมีลูกกลิ้งน้ำทาน้ำบนแผ่น
 แม่พิมพ์ก่อนลูกกลิ้งน้ำนี้เรียกว่าลูกนี้ (Water roller) หรือ (dampening roller) แล้วจึงมีลูกหมึกทาหมึกบนแม่พิมพ์หมึก
 ที่เกาะติดแม่พิมพ์นี้ จะถูกถ่ายทอดลงบนลูกโมยาง (Rubber cylinder) ลูกโมยางนี้เป็นลูกโมโลหะทรงกลมแต่ถูกหุ้มไว้ด้วย
 แผ่นยาง โดยทำแผ่นยางมายึดติดกับลูกโม ลูกโมยางนี้เมื่อรับหมึกจากแม่พิมพ์แล้วก็จะนำไปพิมพ์ติดบนแผ่นกระดาษ
 ซึ่ง จะมีลูกโมแรงกด (impression cylinder)อีกลูกโมหนึ่งจับกระดาษมากดกับลูกโมยางและรับหมึกจากลูกโมยางให้ติดบน  กระดาษก็จะได้ชิ้นงานพิมพ์ตามต้องการ ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทจึงจะต้องมีลูกโม 3 ลูก ขนาดเท่าๆกัน หมุนพิมพ์กระดาษ
 ออกมาแต่ละครั้งในเมื่อหมุนรอบหนึ่ง การพิมพ์หมึกนั้นไม่ได้ผ่านจากแม่พิมพ์ออฟเซ็ทมาพิมพ์แผ่นกระดาษโดยตรงแต่ถ่าย
 ทอดมาโดยผ่านลูกโมยางก่อน ดังนั้นตัวพิมพ์ก็ดี ภาพก็ดี ที่ปรากฏบนแผ่นแม่พิมพ์จึงเป็นตัวหนังสือ ที่อ่านได้ตามปกติ
 ภาพก็เป็นภาพที่ตรงกับภาพที่พิมพ์ออกมา เมื่อแม่พิมพ์พิมพ์ตัวหนังสือลงบนยางตัวหนังสือบนลูกโมยางจะกลับซ้ายเป็นขวา
 และขวาเป็นซ้าย และเมื่อลูกโมยางพิมพ์ลงบนกระดาษก็จะได้ ตัวหนังสือและภาพเป็นปกติเช่นเดียวกับแม่พิมพ์ออฟเซ็ท  การพิมพ์ออฟเซ็ทเป็นวิธีพิมพ์ที่แพร่หลายอยู่มากในขณะนี้ เพราะสามารถพิมพ์ภาพได้ชัดเจนสวยงามและต้นทุนไม่แพง
 มากนักแท่นพิมพ์ออฟเซ็ทชนิดพิมพ์มากสีและพิมพ์สองหน้าพร้อมกันละชนิดป้อนด้วยกระดาษม้วนได้มีการผลิตออกมา
 จำหน่ายมากหลักของการพิมพ์ offset คือ น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสองส่วน คือบริเวณที่ไม่มี
 ภาพก็จะเป็นที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึกหน้าที่ของบริเวณทั้งสองของแม่พิมพ์ออฟเซ็ท
 1.ส่วนที่ไร้ภาพและรับน้ำจะทำหน้าที่ในการรับน้ำหรือความชื้นและผลักดันหมึกให้ออกนอกบริเวณ
 2.ส่วนที่เป็นภาพจะทำหน้าที่รับหมึกและผลักดันน้ำมันออกนอกบริเวณของตน ซึ่งในแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ๆ แตกต่างกัน

โมแม่พิมพ์โรงพิมพ์ออฟเซ็ท หลักในการถ่ายทอดภาพของเครื่องพิมพ์โรงพิมพ์ออฟเซ็ท
ออฟเซ็ทเป็นระบบการพิมพ์พื้นฐานทั่วไปในระบบ 3 โม คือ
1.โมแม่พิมพ์ (ใส่เพลทแม่พิมพ์ออฟเซ็ท)
2.โมผ้ายาง (ผ้ายางรับหมึกพิมพ์ออฟเซ็ท)
3.โมแรงกด (กดกระดาษกับผ้ายางรับหมึกพิมพ์ออฟเซ็ท)

 พร้อมด้วยระบบทำความชื้นและระบบการจ่ายหมึกให้แกแม่พิมพ์ออฟเซ็ทเมื่อมีการเคลื่อนไหวแม่พิมพ์ออฟเซ็ทจะหมุนไปรับน้ำ
 หรือความชื้นแล้วจึงหมุนไปรับน้ำ แล้วจึงไปรับหมึก เมื่อแม่พิมพ์รับหมึกในบริเวณภาพแล้วจะหมุนลงไปถ่ายโอนไปให้โม
 ผ้ายาง แล้วจึงถ่านลงวัสดุพิมพ์ โดยมีโมกดพิมพ์รองรับอยู่เป็นระบบการพิมพ์ทางอ้อม
 ประโยชน์ของการพิมพ์ทางอ้อม
 1.ในการพิมพ์ภาพลงสู่ผ้ายาง ผิวของผ้ายางมีความอ่อนนุ่มจึงสามารถแนบกระชับกับผิวของของการดาษที่เป็นแอ่ง
 และขรุขระได้ดีกว่าการใช้แม่พิมพ์ออฟเซ็ทโดยตรง
 2.ผ้ายางจะไม่ทำให้ตัวของแม่พิมพ์ชำรุด เหมือนกับการพิมพ์ทางตรง
 3.สะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องของภาพ และข้อความบนแม่พิมพ์เพราะเป็นตัวตรงไม่ใช่ตัวกลับอย่าง เลตเตอร์เพลส
 ซึ่งตรวจสอบได้ยาก

 ขั้นตอนกระบวนการพิมพ์ออฟเซ็ท
    กระบวนการพิมพ์ออฟเซ็ทแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ งานก่อนพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์ งานก่อนพิมพ์ประกอบด้วย
 การทำงานหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเรียงพิมพ์จนถึงการทำแม่พิมพ์งานก่อนพิมพ์ในกระบวนการพิมพ์สมัยใหม่ที่ใช้เครื่อง
 คอมพิวเตอร์สามารถลดขั้นตอนของงานได้มาก ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
 งานพิมพ์ประกอบด้วยงานเตรียมพร้อมพิมพ์และงานพิมพ์ออฟเซ็ทงานพิมพ์ออฟเซ็ทมีหลายประเภทสามารถแบ่งได้ตามระบบ
 การพิมพ์ งานหลังพิมพ์มี 2 ประเภทคือ งานแปรรูปและงานทำสำเร็จ งานหลังพิมพ์เริ่มภายหลังจากงานพิมพ์สิ้นสุดตั้งแต่
 การพับแผ่นพิมพ์ การตัด การเก็บเล่ม การเข้าเล่ม การเข้าปก การเจียน และการตกแต่งสิ่งพิมพ์เพื่อเพิ่มคุณค่า ความสวยงาม
 ความน่าสนใจ ความคงทน และอื่นๆ
 กระบวนการของงานก่อนพิมพ์ออฟเซ็ท
    งานก่อนพิมพ์ออฟเซ็ทในกระบวนการผลิตแบบเดิมประกอบด้วยขั้นตอนหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเรียงพิมพ์จนถึงการ
 ทำแม่พิมพ์ ส่วนงานก่อนพิมพ์ในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมการทำงานสามารถลดขั้น
 ตอนงานก่อนพิมพ์ได้มาก การทำงานก่อนพิมพ์ออฟเซ็ทจึงเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และประหยัดมากกว่าเดิม
 กระบวนการของงานพิมพ์ออฟเซ็ท
 1.ก่อนเริ่มงานพิมพ์ออฟเซ็ทต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของแม่พิมพ์ตั้งแต่ประเภท ตำแหน่งภาพ และข้อความ
 การฉายแสงและการล้าง รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องพิมพ์ การติดตั้งแม่พิมพ์อุปกรณ์จ่ายหมึก อุปกรณ์ป้อน
 และส่งกระดาษที่พิมพ์แล้วไปยังหน่วยรับ ทั้งการพิมพ์ป้อนแผ่นและป้อนม้วน
 2.ในการพิมพ์ป้อนม้วน การตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องพิมพ์ต้องตรวจอุปกรณ์ปรับแรงตึงของม้วนด้วยแผ่นพิมพ์ที่ออก
 จากหน่วยพิมพ์อาจตัดเป็นแผ่นหรือม้วนกลับ
 3.ก่อนเริ่มงานพิมพ์ออฟเซ็ทยังต้องมีการเตรียมพร้อมพิมพ์ โดยปรับสภาพของเครื่องให้พร้อมทำงานพิมพ์ออฟเซ็ทและปรุฟ
 งานก่อนเริ่มพิมพ์งานออฟเซ็ทตามจำนวนที่ต้องการ เพื่อลดเวลาการใช้เครื่องและให้ได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพในระหว่าง
 พิมพ์งานต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของภาพพิมพ์ออฟเซ็ทอย่างสม่ำเสมอ

 กระบวนการของงานหลังพิมพ์ออฟเซ็ท
 1.งานหลังพิมพ์เริ่มภายหลังจากงานพิมพ์ออฟเซ็ทสิ้นสุด ตั้งแต่การพับจนได้สิ่งพิมพ์สำเร็จเป็นรูปเล่มตามต้องการ
 งานหลังพิมพ์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ งานแปรรูป และ งานทำสำเร็จ
 2.งานแปรรูป ได้แก่ การตัด การพับ การเข้าเล่ม การเย็บเล่ม การเจียนและการเข้าปก ส่วนงานทำสำเร็จนั้นมักเป็นความต้อง
 การที่หลากหลายของลูกค้า โดยอาจทำหรือไม่ก็ได้ งานทำสำเร็จมีหลายประเภท เช่นการทำให้เกิดลวดลายสีทองหรือสีต่างๆ
 บนสิ่งพิมพ์ การทำให้เป็นรอยนูน การอาบมันและการเคลือบการพิมพ์นูนด้วยความร้อน การตัดรูปหรือขึ้นรูปและการหุ้มเล่ม
 พลาสติกงานพิมพ์แต่ละประเภทไม่จำเป็นต้อง ผ่านงานหลังพิมพ์ทุกประเภทและทุกขั้นตอน
 กระบวนการพิมพ์ออฟเซ็ท
 เป็นวิธีการพิมพ์แบบพื้นแบนอีกวิธีหนึ่งที่ใช้แม่พิมพ์ทำด้วยแผ่นโลหะอลูมิเนียม หรือเป็นแผ่นสังกะสี (เพลท)หรืออาจทำจาก
 กระดาษ หรือเป็นแผ่นพลาสติกก็ได้ การเลือกใช้แผ่นแม่พิมพ์ชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนในการพิมพ์ แม่พิมพ์โลหะ
 สามารถพิมพ์ได้เป็นจำนวนมากเป็นหมื่นๆ แผ่น การพิมพ์แบบออฟเซ็ทมีลักษณะที่พิเศษแตกต่าง จากวิธีการอื่นคือมีลูกโม
 ทรงกระบอกอย่างน้อย 3 ลูก ทำหน้าที่ดังนี้
 1.ลูกโมใช้หุ้มแผ่นแม่พิมพ์ออฟเซ็ท(เพลท) อาจเป็นแผ่นโลหะหรือกระดาษก็ได้ เรียกว่าโมแม่พิมพ์ (Plate Cylinder)
 ลูกโมแม่พิมพ์ จะมีลักษณะกลมเหมือนท่อโลหะขนาดใหญ่มีขอเกี่ยวแผ่นแม่พิมพ์หรือเพลทให้ตรึงแน่นไม่เคลื่อนที่ติดกับ
 ลูกดุมเพราะแผ่นเพลทจะต้องถูกับลูกกลิ้งหมึกและลูกกลิ้งน้ำอยู่ตลอดเวลา ถ้าเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อยตำแหน่งของภาพจะ
 เคลื่อนไปจะมีปัญหากับการพิมพ์สอดสีหรือการพิมพ์หลายเพลท
 2.ทำหน้าที่รับภาพจากแผ่นแม่พิมพ์ออฟเซ็ท(เพลท) เรียกว่าลูกโมยาง (Blanket Cylinder)
 3.ทำหน้าที่กดกระดาษให้แนบกับลูกโมยาง เพื่อให้หมึกติดเป็นภาพลงบนกระดาษ(Impression cylinder)
โมแม่พิมพ์ออฟเซ็ทโรงพิมพ์ โมพิมพ์ออฟเซ็ทแม่พิมพ์

 ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท กระดาษที่ใช้พิมพ์กับระบบการในโรงพิมพ์ออฟเซ็ท ควรมีคุณสมบัติดังนี้
 1.มีผิวเรียบเพื่อให้รับหมึกได้ดี
 2.ไม่มีขลุยและฝุ่นบนผิวกระดาษ เพราะจะทำให้ภาพพิมพ์ มีรูรอยด่างของขลุยกระดาษ
 3.ต้านทานน้ำและความชื้นได้ดี ไม่ยืดง่ายเมื่อถูกความชื้น
 4.มีเนื้อกระดาษสม่ำเสมอและรักหมึกได้ดี
 5.มีความราบเรียบตลอดทั้งแผ่นเพื่อให้ป้อนเข้าเครื่องได้สะดวก
 6.สามารถพิมพ์กระดาษหนาตั้งแต่ 55-500 แกรมได้
 ในกรณีของกระดาษอาร์ตลายผ้า อาร์ตหนังไก่ และกระดาษปั้มลายต่างๆ ก็ยังสามารถใช้พิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ทได้ดี
 เพราะการถ่ายทอดภาพโดยผ่านผ้ายางแบลงเกตทำให้มีความยืดหยุ่นตัวดี และแรงกดในการพิมพ์ก็มีมากพอ

ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก http://student.nu.ac.th